วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

ภาษาม้ง

ภาษาม้ง

ภาษาม้งอยู่ในตระกูลแม้ว-เย้า หรือม้ง-เมี่ยน ใช้กันในชาวม้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ บางส่วนของจีนจัดเป็นภาษาคำโดด โดยหนึ่งคำมีเสียงพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ ไม่มีเสียงตัวสะกด มีวรรณยุกต์สนธิหรือการผสมกันของเสียงวรรณยุกต์เมื่อนำคำมาเรียงต่อกันเป็นประโยค ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

1.ภาษาม้งเขียว หรือ ม้งจั๊ว (Hmong Njua) 
2.ภาษาม้งขาว หรือ ม้งเด๊อว (Hmong Daw) 

1.ภาษาม้งเขียว หรือ ม้งจั๊ว (Hmong Njua) 
ภาษาม้งเขียว หรือ ภาษาม้งจั๊ว (Hmong Njua) ภาษาม้งตะวันตก มีผู้พูดทั้งหมด 1,290,600 คน พบในจีน 1,000,000 คน (พ.ศ. 2525) ซึ่งรวมชาวบูนูที่เป็นชนกลุ่มเย้าแต่พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ 29,000 คนเข้าไปด้วย ในบริเวณกุ้ยโจว เสฉวน และยูนนาน พบในลาว 145,600 คน (พ.ศ. 2538)ทางภาคเหนือ พบในพม่า 10,000 คน (พ.ศ. 2530) พบในไทย 33,000 คน ในจังหวัดตาก น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ เชียงราย พะเยา เลย สุโขทัย แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี พบในเวียดนาม ทางภาคเหนือ พบได้บ้างในจังหวีดทางภาคใต้เช่น จังหวัดดักลัก มีผู้พูดภาษานี้ในฝรั่งเศส และสหรัฐด้วย

เข้าใจกันได้กับภาษาม้งขาว จัดอยู่ในตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ภาษากลุ่มม้ง เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา มีวรรณยุกต์ 3 เสียง

2.ภาษาม้งขาว หรือ ม้งเด๊อว (Hmong Daw)
ภาษาม้งขาว หรือ ภาษาม้งเด๊อว (Hmong Daw) มีผู้พูดทั้งหมด 514,895 คน พบในจีน 232,700 คน (พ.ศ. 2547) ทางตะวันตกของกุ้ยโจว ทางใต้ของเสฉวน และยูนนาน พบในลาว 169,800 คน (พ.ศ. 2538) ทางภาคเหนือ พบในไทย 32,395 คน (พ.ศ. 2543) ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงราย น่าน พิษณุโลก เลย สุโขทัย กำแพงเพชร แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ ลำปาง ในเวียดนามพบทางภาคเหนือพบได้บ้างในจังหวีดทางภาคใต้เช่น จังหวัดดักลัก มีผู้พูดภาษานี้ในฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกาด้วย

เข้าใจกันได้กับภาษาม้งเขียว จัดอยู่ในตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ภาษากลุ่มม้ง เป็นภาษาที่มีพยัญชนะมาก บางเสียงไม่มีในภาษาไทย ไม่มีเสียงตัวสะกด ไม่มีความต่างระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาว เสียงวรรณยุกต์ มี 8 เสียงคือ

เสียงต่ำ-ตก มีการกักเส้นเสียงตอนท้ายทำให้สระเสียงสั้นกว่าปกติ คล้ายเยงเอกกึ่งเสียงโทในภาษาไทย 
เสียงต่ำ-ขึ้น คล้ายเสียงจัตวาในภาษาไทย 
เสียงกลาง-ระดับ คล้ายเสียงสามัญในภาษาไทย 
เสียงต่ำ-ระดับ คล้ายเสียงเอกในภาษาไทย 
เสียงกลาง-ตก คล้ายเสียงโทในภาษาไทย แต่ต่ำกว่าและมีลมออกมามาก 
เสียงสูง-ขึ้น คล้ายเสียงตรีในภาษาไทย 
เสียงสูง-ตก คล้ายเสียงโทในภาษาไทย 
เสียงกลาง-ขึ้น คล้ายเสียงจัตวาในภาษาไทย แต่เสียงเริ่มต้นสูงกว่า และเลื่อนขึ้นสูงกว่า เสียงนี้พบน้อย 

ไม่มีอักษรเป็นของตนเอง มีผู้สนใจภาษาม้งพยายามประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้เขียน เช่น อักษรม้ง อักษรพอลลาร์ด เมียว ที่เป็นที่นิยมแพร่หลายคืออักษรละติน ในประเทศไทยบางครั้งเขียนด้วยอักษรไทย สำหรับการเขียนด้วยอักษรละตินมี พยัญชนะที่ใช้ทั้งหมด 26 ตัว 

วรรณยุกต์ มี 8 และสระมี 14 ตัว ได้แก่


การเรียงคำเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม เช่น เด๋เตาะหมี (หมากัดแมว) ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงกาล แต่ใช้การเติมคำบอกกาลเช่นเดียวกับภาษาไทย อดีตเติมคำว่าเหลอะไว้ท้ายประโยค เช่น เด๋เตาะหมีเหลอะ (หมากัดแมวแล้ว) อนาคตใช้คำว่าหยัววางไว้หน้ากริยา เช่น เด๋หยัวเตาะหมี (หมาจะกัดแมว) ประโยคปฏิเสธเติมคำว่าไม่ (จี่ หรือ ทจี่) หน้าคำกริยา เช่น เด๋ทจี่เตาะหมี (หมาไม่กัดแมว) ประโยคคำถามเติมคำว่าปั่วหรือหลอเข้าในประโยค คำว่าหลอนิยมวางไว้ท้ายประโยค ส่วนคำว่าปั่วนิยมวางไว้หน้ากริยา เช่น เด๋เตาะหมีหลอ หรือ เด๋ปั่วเตาะหมี (หมากัดแมวหรือ)

ภาษาม้งมีการใช้คำลักษณนามโดยจะเรียงคำแบบ จำนวนนับ-ลักษณนาม-นาม เช่น อ๊อตู่แหน่ง (สอง-ตัว-ม้า) คำลักษณนามที่สำคัญคือ ตู่ใช้กับสิ่งมีชีวิตทั้ง คน สัตว์และต้นไม้ ตร๊า ใช้กับเครื่องมือ เครื่องใช้ อาวุธ ได่ ใช้กับสิ่งที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ แส้ฮ ใช้กับสิ่งที่เป็นเส้นยาวหรือเวลานานๆ ลู้ใช้กับคำนามทั่วไป จ๋อใช้กับคำนามที่มีมากกว่าหนึ่ง เช่น จ๋อแหน่ง (ม้าหลายตัว)
พยัญชนะ
ในภาษาม้งมีทั้งหมด 57 ตัวแยกเป็น พยัญชนะตัวเดียว พยัญชนะควบกล้ำ 2 ตัว พยัญชนะควบกล้ำ 3 ตัว และพยัญชนะควบกล้ำ 4 ตัว ดังต่อไปนี้คือ

พยัญชนะตัวเดียว มีทั้งหมด 18 ตัว t k p s x l n h m g q v r z y c f 
พยัญชนะควบกล้ำ 2 ตัว มีทั้งหมด 22 ตัว kh qh ch ts ny hn th nt np ph tx xy hl nk nq nr dh rh nc pl hm mlหรือnl 
พยัญชนะควบกล้ำ 3 ตัว มีทั้งหมด 14 ตัว tsh nth txh nts nph nrh hmlหรือhnl nkh nqh nch ntx npl plh hny 
พยัญชนะควบกล้ำ 4 ตัว มีทั้งหมด 3 ตัว ntsh ntxh nplh 
วรรณยุกต์

ทั้งหมดมี 7 เสียงที่ใช้การในปัจจุบันของม้ง ได้แก่

สั้วปอก (suab pom) ใช้ตัว m เช่น niam koom 
สั้วหนือ (suab nws) ใช้ตัว s เช่น nias mus 
สั้วยอ (suab yog) ใช้ตัว g เช่น niag tug 
สั้วเต๋อ (suab ntawd) ใช้ตัว d เช่น จะใช้เฉพาะคำว่า เต๊อ ntawd จะไม่สามารถใช้กับคำอื่นได้ 
สั้วกู๊ (suab kuv) ใช้ตัว v เช่น niav pev 
สั้วก้อ (suab koj) ใช้ตัว j เช่น niaj ntuj 
สั้วเป๊ะ (suab peb) ใช้ตัว b เช่น niab neeb 

สระ
ได้แก่ สระอา (a) สระอี (i) สระ เอ (e) สระอื (w) สระอู (u) สระออ (o) สระโอง (oo) สระอาง (aa) สระเอง (ee) สระเออ (aw) สระเอีย (ia) สระเอา (au) สระอัว ( ua) สระ ไอ (ai) 

คำศัพท์

อวัยวะ

ภาษาม้ง คำอ่าน คำแปล 
1 taub hau เต๊า-เฮา หัว 
2 caj dab จ้า-ด๊า คอ 
3 hauv caug เหา-เจ่า เข่า 
4 caj npaab จี้ -บั้ง แขน 
5 txhais tes ไฉ่ เต่ มือ 
6 ntiv tes ดี๋-เต่ นิ้วมือ 
7 nruab qaum นจั๊ว เขา หลัง 
8 sab ceg ซะ-เจ่ ขา 
9 txhais ko taw ไฉ่ กอ เตอ เท้า 
10 ntsej muag เจ้-หมั่ว หน้า 
11 pob ntxeg ป๊อ -เจก หู 
12 plaub hau เปล๊า-เฮา ผม 
13 plab ปล๊า ท้อง 
14 ghov muag ขอ-หมั่ว ตา 
15 ghov ncauj ขอ-เจ้า ปาก 
16 nplaig ไบล่ ลิ้น 

สี
ภาษาม้ง คำอ่าน คำแปล 
1 dub ดู้ ดำ 
2 xiav เสีย สีน้ำเงิน 
3 liab daj เลี้ย-ด้า น้ำตาล 
4 ntsuab จั๊ว เขียว 
5 liab dawb muag เลีย-เกอะ-มัว ชมพู 
6 liab เลี้ย แดง 
7 daj ด้า เหลือง 
8 dawb เดอะ ขาว 
9 paj yeeb ป้า-เย้ง สีบานเย็น 

คำอื่นๆที่มักใช้บ่อย
กู้เหนียก้อ = ฉันรักเธอ kuv nyiam koj 
กู๋จี่เหนียก้อ = ฉันไม่รักเธอ kuv tsis nyism koj 
มูตื่อหลอ = ไปไหนมา mus twg lo 
เห่าเดร้ = เฮ้าเดร่ กินน้ำ haus dej 
สาเหาเดร้ = อยากกินน้ำ sav haus dej 
หนัวเกเป่เจื่อ = อันนี้ราคาเท่าไหร่ khov no peg tsawg 
น้อหมอหล่อจี่เตา = กินเข้าหรือยัง noj mov lo tsis tau 
อี้ =หนึ่ง ib 
อ้อ=สอง ob 
เป๊=สาม peb 
เปล๊า=สี่ plaub 
จี๊=ห้า txib 
เจา=หก rau 
ซยาง=เจ็ด xya 
หยี=แปด yim 
จั้ว=เก้า tsuaj 
เก๋า=สิบ kaum 

อ้างอิง
^ http://hmongstudies.org/LemoineHSJ6.pdf Lemoine, Jacques. "What is the actual number of the (H) mong in the World." Hmong Studies Journal, Vol 6, 2005. 
สุริยา รัตนกุล. พจนานุกรมภาษาไทย-ม้ง. กทม. โรงพิมพ์เกษมสัมพันธ์การพิมพ์. 2515 
สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธ์: ม้ง. กทม. สถาบันวิจัยวัมนธรรมและภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท. 2538 
ศัพทานุกรมไทย-คำเมือง-ม้งขาว-กะเหรี่ยงสะกอ-มูเซอดำสำหรับแพทย์ ทันตแพทย์และสัตวแพทย์เพื่อการพัฒนุณภาพชีวิตของชาวชนบท. กทม. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2530 
ดึงข้อมูลจาก 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น